บุหรี่ไฟฟ้า

บุหรี่ไฟฟ้า กับกฎหมายไทย

กฎหมายที่เกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทยมีหลายฉบับ ซึ่งแต่ละฉบับบัญญัติในด้านที่แตกต่างกัน แต่ภาพรวมของข้อกฎหมายไทยกำหนดให้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเป็นสินค้าที่ผิดกฎหมาย หากพิจารณาจากรูปลักษณ์ภายนอกของตัวผลิตภัณฑ์ ประกอบกับขั้นตอนการใช้ และผลลัพธ์ที่ได้จากการใช้งาน จะเห็นได้ว่าบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าที่สามารถเทียบเคียงได้กับบุหรี่มวนทั่วๆ ไป ซึ่งบุหรี่มวนเป็นผลิตภัณฑ์ที่กฎหมายไทยให้การรับรอง โดยจัดอยู่ในหมวกของผลิตภัณฑ์ยาสูบ แต่บุหรี่ไฟฟ้าไม่เข้าข่าย รวมถึง Podsystem

Podsystem ก็จัดเป็นบุหรี่ไฟฟ้าชนิดหนึ่งที่ไม่สามารถนำเข้าประเทศไทยได้ ภายใต้บริบทกฎหมายของประเทศไทย บุหรี่ไฟฟ้า podsystemถือเป็นสิ่งผิดกฎหมาย เนื่องจากมีกฎหมายควบคุมอย่างเด็ดขาด เริ่มตั้งแต่การห้ามนำเข้า ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่องกำหนดให้บารากู่และบารากู่ไฟฟ้า หรือบุหรี่ไฟฟ้า podsystemเป็นสินค้าต้องห้ามในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. 2557 ซึ่งผู้ที่ฝ่าฝืนลักลอบนำเข้าจะต้องรับโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับเป็นเงิน 5 เท่าของสินค้าหรือทั้งจำทั้งปรับ รวมถึงให้ริบสินค้า และพาหนะที่ใช้ในการบรรทุกสินค้านั้นด้วย นอกจากนี้บุหรี่ไฟฟ้า podsystemยังเป็นสินค้าที่ห้ามขาย หรือให้บริการ ตามคำสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ 9/2558 ซึ่งกำหนดโทษสำหรับผู้ประกอบธุรกิจทั่วไปให้จำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 500,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากผู้ที่กระทำผิดเป็นผู้ประกอบธุรกิจในฐานะผู้ผลิต ผู้สั่ง หรือผู้ที่นำเข้ามาเพื่อขายต้องรับโทษเพิ่มสูงขึ้นเป็นจำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับไม่เกิน 1,000,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

หรือหากมีผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้า podsystemในสถานที่สาธารณะที่มีป้ายหรือเป็นสถานที่ที่กำหนดให้เป็นเขตปลอดบุหรี่ เช่น ในโรงเรียน โรงพยาบาล ตลาด ถือว่าเป็นการฝ่าฝืนกฎมาตรา 42 พ.ร.บ. ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 ปรับไม่เกิน 5,000 บาท และสำหรับผู้ที่ซ้อน ซื้อ รับไว้ หรือมีบุหรี่ไฟฟ้า podsystemไว้ครอบครอง ทั้งที่ทราบว่าบุหรี่ไฟฟ้า podsystemเป็นของที่ต้องห้ามนำเข้าประเทศไทย ถือว่ากระทำผิดกฎหมายเช่นกัน ซึ่งจะโดนดำเนินคดีรับโทษขำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 246 พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2560

ทั้งนี้ทั้งนั้นกฎหมายไทยไม่มีบทบัญญัติที่กำหนดมาตรการเกี่ยวกับการพกพา ครอบครอง หรือการใช้บุหรี่ไฟฟ้าโดยชัดแจ้ง ซึ่งสิทธิเหล่านี้เป็นสิทธิตามพฤติการณ์ทั่วไปที่ผู้บริโภคพึงมี ว่าสามารถกระทำการนั้นๆได้หรือไม่ มีแต่เพียงข้อกำหนดการนำเข้า นำพา ส่งออก การขาย และการบริการเท่านั้น ซึ่งเป็นพฤติการณ์ของผู้ผลิตและผู้จำหน่ายทั้งสิ้น รวมทั้งกฎหมายที่มีอยู่ก็ยังไม่ชัดเจน มีสาระสำคัญที่ไม่สอดคล้องกัน และยังกำหนดวิธีปฏิบัติไว้อย่างคลุมเครือ ด้วยเหตุนี้จึงเกิดปัญหาขึ้นตามมาไม่ว่าจะเป็นการพกพา นำพา หรือใช้บุหรี่ไฟฟ้าของบุคคลผู้มิได้ศึกษากฎหมายอย่างถ่องแท้ นำพามาซึ่งการกระทำความผิดและจับกุม

Tags: